ปฏิบัติตน *ไม่ตกนรก* อารมณ์ 3 ข้อนี้ ฟังให้จบ เสียงธรรม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
Ami & Joe Happy TV Ami & Joe Happy TV
74.2K subscribers
990 views
22

 Published On Sep 23, 2024

เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ คือ ศีล 5
เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันแห่งศาสนาพุทธ แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้ว จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน

เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามคำสอนของพุทธเจ้า ศาสดาแห่งศาสนาพุทธ โดยทั่วไปศีล 5 เป็นข้อห้ามในด้านต่างๆ 5 ประการ ได้แก่
1.ห้ามฆ่าสัตว์
2.ห้ามลักทรัพย์
3.ห้ามประพฤติผิดในกาม
4.ห้ามโกหก
5.ห้ามดื่มเครื่องดองของมึนเมา

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

กุศลกรรมบถ 10 เป็นหนึ่งในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ว่าด้วยความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ถูกรวบรวมไว้ในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก อันเป็นคัมภีร์บันทึกพุทธวจน หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

ความหมายของกุศลกรรมบถ 10 ประการ
กุศลกรรมบถ 10 คือ หลักธรรมแห่งกรรมดีอันเป็นกุศล หรือทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล รวมเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันจำนวน 10 ประการ อันจะนำความสุขและความเจริญมาสู่ผู้ปฏิบัติ

คำว่า "กุศล" หมายถึง บุญความดี, สิ่งที่ดีงาม
คำว่า "กรรมบถ" หมายถึง หนทางแห่งกรรม, การกระทำกรรม

เมื่อคำว่า "กุศลกรรมบถ 10" มารวมอยู่ด้วยกัน จึงมีความหมายว่า หนทางสู่การกระทำกรรมดีอันเป็นกุศล จำนวน 10 ประการ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมที่เป็นพุทธวจน ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎ

กุศลกรรมบถ 10 สามารถแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่ ทางกายกรรม (การกระทำทางกาย), วจีกรรม (การกระทำทางคำพูด) และมโนกรรม (การกระทำทางใจ) เมื่อรวมกันแล้วมีทั้งหมด 10 ประการดังนี้

กุศลกรรมบถ 10 ทางกายกรรม
1. ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทำลายชีวิตของผู้อื่น
2. ไม่ลักทรัพย์ ไม่ลักขโมย หรือยึดทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม

กุศลกรรมบถ 10 ทางวจีกรรม
4. ไม่พูดเท็จ ไม่พูดโกหก
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบคาย
7. ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อ

กุศลกรรมบถ 10 ทางมโนกรรม
8. ไม่โลภคิดอยากได้ของคนอื่น
9. ไม่พยาบาท หรือปองร้ายผู้อื่น
10. มีความเห็นชอบตามคลองธรรม

สุดท้ายนี้จะเห็นได้ว่าหลักธรรมเหล่านี้เป็นหลักธรรมง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน หากใครที่สามารถปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ก็เชื่อว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ที่กระทำแต่สิ่งที่เป็นกุศล สะสมบุญเพื่อความดี ความสุข และความเจริญในชีวิต รวมทั้งยังเป็นที่รักต่อผู้อื่น อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

พุทธานุสสติ ทรงอารมณ์ได้ถึงฌาน ๔ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

แทนที่เราจะภาวนาเฉยๆ เราก็ จับภาพพระพุทธรูป
กำหนดภาพไว้ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้
นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ที่เราต้องการ
เรามีความเลื่อมใสพอใจอยู่ เวลาจับลมหายใจเข้าออก
ภาวนาว่า พุทโธ ก็นึกภาพขององค์สมเด็จพระบรมครู
จะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ ให้ปรากฏอยู่ในใจ
ไม่ใช่ไปนั่งคอยให้ภาพลอยมาแบบนี้ใช้ไม่ได้
ภาวนาไปแล้วก็นึกถึงภาพไปด้วย จะนึกอยู่ในอก
ให้เห็นอยู่ในอก หรือเห็นภายนอกก็ได้ไ่ม่จำกัด
ถ้านึกถึงภาพนั้นตามภาพเดิม อย่างนี้เรียกว่า
อุคคหสมาธิ หรือ อุคคหนิมิต
ถ้าภาพเดิมนั้นขยายไป เปลี่ยนแปลงไปชักจะใหญ่ขึ้น
จะสูงขึ้น จะเล็กลง แล้วก็มีสีสันวรรณะ เริ่มเปลี่ยนแปลง
ไปทีละน้อยๆ จากสีเดิมกลายเป็นสีจางไปนิดหน่อย
จางลงไปจางลงไป แต่เรารู้สึกอารมณ์จิตนึกเห็นชัด
นึกเห็นนะไม่ใช่ภาพลอยมา อารมณ์จิตนึกเห็น
จนกระทั่งปรากฏเป็นแก้วใส อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น
อุปจารสมาธิตอนกลาง
ตอนนี้แก้วใสที่กลายเป็นแก้วประกายพรึก
แพรวพราวไปหมดทั้งองค์ จิตใจสามารถจะบังคับ
ให้ภาพนั้นเล็กก็ได้ จะให้ใหญ่ก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้
ตั้งอยู่ข้างหน้าก็ได้ ข้างหลังก็ได้ ตามใจนึก
นึกอย่างไร ภาพนั้นปรากฏไปตามนั้น
มีความใสสะอาดสุกใสเป็นกรณีพิเศษ
อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
ท่านกล่าวว่าเป็น ปฐมฌาน
การจับภาพนี่จับให้สนิท ให้คิดอยู่เมื่อไรได้เมื่อนั้น
เดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ นั่งอยู่ นึกเห็นเมื่อไร
เห็นได้เมื่อนั้นทันที นี่อย่างนี้เป็น กสิณ ด้วย
เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานด้วย ถ้าการเห็นภาพแบบนั้น
ปรากฏว่า คำภาวนาว่า พุทโธ หายไป ภาพใสขึ้นผิดกว่าเดิม
อันนี้เป็น ฌานที่ ๒ แต่มีจิตชุ่มชื่น อาการของจิต
มันเหมือนกัน ภาพใสสะอาดขึ้น มีการทรงตัวมากขึ้น
มีความแจ่มใสขึ้น ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด
จิตทรงตัวแนบนิ่งสนิท แล้วก็ลมหายใจน้อย
ได้ยินเสียงภายนอกเบา อันนี้เป็น ฌานที่ ๓
การเห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมากเป็นกรณีพิเศษ
สว่างไสว คล้ายกับพระอาทิตย์ทรงกลด
หรือว่าคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงแดดดวงใหญ่
ใจไม่ยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่น เป็นอุเบกขารมณ์
ทรงสบาย เห็นแนบนิ่งสนิท จะนั่งนานเท่าไร
ก็เห็นได้ตามความปรารถนา หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก
ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็น ฌานที่ ๔

“วิชามโนมยิทธิควรใช้เพื่อตัดกิเลส ในเมื่อเราสามารถจะเข้าถึงนิพพาน ก็จงมีความภูมิใจว่า ถ้าเราไม่เลวเกินไปชาตินี้ เราก็ไปพระนิพพานได้ ที่ว่าไม่เลวเกินไป ก็เพราะอะไร เพราะว่าที่เลวเกินไป ก็หมายถึงว่าเป็นคนที่มีความประมาท การเอาวิชาความรู้ประเภทนี้ไปเที่ยวอวดชาวบ้านว่าฉันเห็นนั่นเห็นนี่บ้าง ถ้าอวดแบบนี้มีสิทธิ์พลาดพลั้ง ถ้าทรุดตัวเมื่อไหร่ การตีตัวขึ้นเป็นของยาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราตกอยู่ในความประมาท ถ้าตกอยู่ในความประมาทเมื่อไหร่ ก็แสดงว่านิวรณ์ก็กินใจเราเมื่อนั้น ในเมื่อนิวรณ์กินใจ


อ้างอิงแหล่งที่มาบทความ เนื้อหาความหมาย
1.ไทยรัฐออนไลน์ thairath.co.th
2.สยามคเณศ keji.siamganesh.com

show more

Share/Embed